REPORT: Human Capital and the Employment Situations of Urban Refugees in Thailand (Volume 1: Baseline Findings)

Screen Shot 2564-09-02 at 09.18.07.png

Publication date: August 2021

Publication: Human Capital and the Employment Situations of Urban Refugees in Thailand (Volume 1: Baseline Findings)

Author: Bhanubhatra Kaan Jittiang

Download the report here.

The present study emerges from an urgent need to investigate human capital and employment situations of urban refugees in Thailand to provide a basis for advo- cating their right to work. This right was intentionally omitted during the drafting of the National Screening Mechanism (NSM). Nevertheless, since urban refugees will go through the NSM process and remain temporarily in Thailand soon, Section 63 of the Emergency Decree on Managing the Work of Aliens B.E. 2560 could provide them with a channel for employment. If that scenario were possible, what would these refugees contribute to Thailand’s labor market? To answer this question, it is essential to inves- tigate human capital and the potential of urban refugees. This volume fills such gaps by providing the results of a baseline survey. In addition, as the COVID-19 pandemic remains consequential, this report explores the employment situations of urban refu- gees during the pandemic and compares it to the preceding period; this could provide additional insights into how the COVID-19 pandemic has affected refugees’ employment and vulnerabilities.

The results presented in this report provide supply-side data for recognizing the available human capital of urban refugees in Thailand. It focuses specifically on their skills, education, and prior work experience, which could be beneficial to Thai society. This report helps to identify the way urban refugees have made use of their human capital in Thailand through an exploration of their employment situations. Based on the findings of the present study, the Thai government and other stakeholders in Thai- land can plan how urban refugees could be integrated into Thailand’s labor market or how they could assist refugee employment in the long run.

ธรรมชาติเชิงวิพากษ์: โควิด – 19 เขตพรมแดนสุขภาพและความปราศจากมลทินของชาติไทย

เขียนโดย อาจารย์ ดร.จิราพร เหล่าเจริญวงศ์*

(หมายเหตุ: บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกวันที่ 9 ตุลาคม 2563 ก่อนที่จะมีการระบาดระลอกใหม่)

[English version available here]

ภาพแสดงการตรวจวัดอุณหภูมิที่ชายแดนไทย-เมียนมา (เครดิต) THANT ZIN AUNG ชาวเมียนมา ที่ทำงานในประเทศไทย

ภาพแสดงการตรวจวัดอุณหภูมิที่ชายแดนไทย-เมียนมา (เครดิต) THANT ZIN AUNG ชาวเมียนมา ที่ทำงานในประเทศไทย

แม้ว่าประเทศไทยจะเป็นประเทศแรกถัดจากจีนที่มีบันทึกการติดเชื้อโควิด-19 แต่ก็ประสบความสำเร็จในการควบคุมโรคนี้ในระยะเวลาไม่นาน เห็นได้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อสูงสุดที่พบอยู่ที่ประมาณ ​100-150 รายต่อวันในเดือนมีนาคม 2563 แต่ก็ลดลงเหลือศูนย์​ภายในเดือนพฤษภาคม และยังคงอยู่ที่ตัวเลขเดิมตั้งแต่นั้นมา โดยมีผู้ติดเชื้อรวมทั้งสิ้นประมาณ 3,500 รายและเสียชีวิต 59 รายนับตั้งแต่เริ่มการระบาด หลังจากนั้นสหภาพยุโรป (The European Union: EU) จึงประกาศให้ประเทศไทยไม่เป็นเขตอันตรายของการแพร่ระบาดอีกต่อไป ทำให้น่าประหลาดใจว่ารัฐไทยสามารถควบคุมหรือจัดการกับการแพร่ระบาดนี้ได้อย่างไร

บทความนี้ศึกษานโยบายเฉพาะกิจและกฎระเบียบที่รัฐบาลไทยใช้ในการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ภายในประเทศ จากการศึกษาวิจัยผ่านเอกสารและเก็บข้อมูลภาคสนามค้นพบว่า เพื่อควบคุมการแพร่กระจายของไวรัส (ทั้งจากภายนอกและภายในประเทศ) รัฐบาลไทยได้สร้าง 'พรมแดนสุขภาพ' เพื่อควบคุมการเคลื่อนย้ายของผู้คน รวมทั้งจัดตั้งหน่วยงานกำกับดูแลคือ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ภายใต้พระราชกำหนดฉุกเฉิน สิ่งที่จำเป็นต้องใช้ในการผ่าน 'พรมแดนสุขภาพ' นี้ ได้แก่ ใบรับรอง Fit-to-Fly แบบฟอร์ม TM.08 หนังสือรับรองการตรวจสุขภาพที่ระบุผลการทดสอบโควิด-19 เป็นลบ และการกักกันตัวที่ดำเนินการโดยรัฐ​ 14 วัน สำหรับผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ ขณะเดียวกันก็ออกกฎระเบียบสำหรับคนไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศอันประกอบด้วย การปิดเมืองและห้ามการเคลื่อนย้ายระหว่างพื้นที่โดยต้องมีหนังสือรับรองการตรวจสุขภาพและการรับได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการในการเดินทางข้ามจังหวัด 

น่าแปลกที่ในช่วงต้นของวิกฤติดังกล่าว รัฐบาลทั่วโลกเกือบทั้งหมดได้เรียกพลเมืองของตนกลับคืนสู่มาตุภูมิ แต่รัฐบาลไทยกลับปิดกั้นพลเมืองของตนไม่ให้กลับบ้านซึ่งทำให้นักเรียนไทยในต่างแดนจำนวนมากต้องติดอยู่ในประเทศระหว่างทางเป็นเวลาหลายวัน ต่อมารัฐบาลไทยจึงได้ประกาศ ‘เขตพรมแดนสุขภาพ’ และกำหนดให้คนไทยทุกคนต้องตรวจสุขภาพให้เรียบร้อยก่อนเดินทางกลับ (สำหรับคนที่ไม่แข็งแรงหรือเจ็บป่วยก็ไม่สามารถเดินทางกลับโดยเครื่องบินได้)

แทนที่จะมองและปฏิบัติต่อคนไทยในฐานะพลเมืองที่รัฐต้องปกป้อง แต่รัฐบาลไทยกลับแบ่งคนออกเป็น 2 กลุ่มคือ ผู้ติดเชื้อและผู้ที่มีร่างกายบริสุทธิ์ ผู้เขียนได้ออกแบบการวิเคราะห์ตามแนวคิดของดักลาสเรื่องความบริสุทธิ์และอันตราย (Douglas, 1966) การถือกำเนิดขึ้นของเขตชายแดนสุขภาพและกฎระเบียบไม่ใช่เพียงควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสเท่านั้น แต่ยังชี้ให้เห็นความกังวลสูงสุดของรัฐบาลไทย คือ การทำให้ยอดผู้ติดเชื้อเป็นศูนย์รายและทำให้มันคงอยู่เช่นนั้นดังเช่นการรักษารัฐให้ปราศจากมลทิน ยิ่งไปกว่านั้นแรงงานไทยในต่างแดนที่เดินทางกลับจากต่างประเทศและแรงงานข้ามชาติถูกมองว่าเป็น ‘ร่างกายที่ปนเปื้อน’ ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายและกลายมาเป็นเป้าหมายของการควบคุมและชำระให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง พวกเขาต้องอยู่ในสถานที่กักกันของรัฐตามที่รัฐจัดหาให้โดยห้ามออกจากโรงแรมที่พักเป็นเวลา 14 วัน ก่อนจะได้รับอนุญาตให้กลับบ้านได้ สิ่งนี้เป็นเหมือนพิธีการเปลี่ยนผ่านที่ร่างกายต้องผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์เพื่อให้ได้รับการยอมรับกลับเข้ามาในสังคมไทยคล้ายกับแนวคิดเอานักโทษเข้าคุกโดยหวังจะเปลี่ยนคนเลวให้กลายเป็นคนดีได้ แต่ในช่วงที่ถูกกักกันคนเหล่านี้กลับไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างเต็มที่ในฐานะประชาชนแต่คล้ายคลึงกับนักโทษเสียมากกว่า

เขตพรมแดนสุขภาพ: จุดตรวจวัดอุณหภูมิในเขตชายแดนแม่สอด (เครดิต) รวีพร ดอกใหม่

เขตพรมแดนสุขภาพ: จุดตรวจวัดอุณหภูมิในเขตชายแดนแม่สอด (เครดิต) รวีพร ดอกใหม่

เขตพรมแดนสุขภาพ

การตอบสนองของรัฐบาลไทยที่มีต่อโควิด – 19 มีความคล้ายคลึงกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก รัฐ ชายแดนและบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ เป็นผู้เล่นที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในช่วงวิกฤติที่คาบเกี่ยวกับความเป็นความตายของผู้คน ซึ่งนักวิชาการวิเคราะห์ว่าเป็น “รัฐยกเว้น” (Agamben, 2005) ในช่วงวิกฤติฉุกเฉินของโควิด – 19 ไม่มีอะไรสำคัญยิ่งกว่า ‘สุขภาพ’ หรือ ‘ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ’ ซึ่งนำไปสู่การเพิกถอนสิทธิและความเป็นส่วนตัวของพลเมืองได้ (Agamben, 2020)  ในสภาวะยกเว้นเช่นนี้ อธิปไตย (รัฐ) มีอำนาจตัดสินใจว่าชีวิตของบุคคลใดควรค่าแก่การช่วยเอาไว้และชีวิตใดที่ไม่คุ้มค่า อย่างไรก็ตาม นโยบายการรับมือโควิด – 19 ที่มีผลต่อแรงงานไทยในต่างแดนและผู้อพยพจากประเทศเพื่อนบ้าน คือ การทำให้ขอบเขตของ "พลเมือง" และ "อื่นๆ" พร่าเลือนในนามของสุขภาพและความมั่นคงทางชีวภาพ ทุกคนได้รับการปฏิบัติด้วยในฐานะผู้ที่อาจจะเป็นอันตราย ไม่ว่าจะเป็นพลเมืองหรือไม่ใช่ ก็ล้วนแต่เป็นเพียงร่างกายที่อยู่ภายใต้สภาวะยกเว้นที่จำเป็นต้องผ่านด่านพรมแดนสุขภาพที่ตั้งขึ้นมาใหม่ (นอกเหนือจากพรมแดนทางภูมิศาสตร์และทางการเมืองที่มีอยู่แล้ว) เพื่อคัดกรองสุขภาพร่างกายก่อนเข้ามาในราชอาณาจักรไทย

ก่อนแพร่การระบาดของโควิด – 19 การเดินทางระหว่างประเทศจำเป็นต้องมีหนังสือเดินทางและวีซ่าที่ถูกต้องเพื่อข้ามพรมแดน บางประเทศขอให้คุณกรอกแบบฟอร์มเพื่อแจ้งว่าไม่ได้นำสินค้าหรืออาหารต้องห้ามเข้ามาในดินแดน แต่ในช่วงที่มีการระบาด รัฐไทยกำหนดให้คุณต้องชี้แจงเรื่องสุขภาพผ่านระบบ Fit to Fly แสดงผลการตรวจโรคโควิด – 19 ภายใน 72 ชั่วโมงล่วงหน้าและแบบฟอร์ม TM.08 หลังจากนั้นจะมีการบังคับกักกันตัว สิ่งต่างๆ เหล่านี้เปรียบเสมือนการข้ามพรมแดนสองครั้งโดยที่การข้ามพรมแดนสุขภาพมีความเข้มงวดยิ่งกว่าการข้ามพรมแดนโดยปกติ

ซึ่งแตกต่างจากสถานการณ์ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่พรมแดน (แผ่นดิน) มักมีรูพรุนและซึมผ่านได้ (van Schendel and de Maaker, 2014) โควิด – 19 ทำให้รัฐบาลไทยต้องปิดจุดตรวจคนเข้าเมืองหรือจุดอพยพทั้งหมดและผนึกพรมแดนของประเทศซึ่งมีความยาวประมาณ​ 5,656 กิโลเมตร ปรากฏการณ์นี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน การปิดผนึกพรมแดนเป็นข้อกำหนดที่จำเป็นในการประกาศภาวะฉุกเฉินด้วยเหตุผลด้านสุขภาพโดยมีเป้าหมายเพื่อให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเป็นศูนย์

เอกสารประกอบเพื่อใช้ในการผ่านเข้าเขตพรมแดนสุขภาพของคนไทยประกอบด้วย

  • ใบรับรองการเดินทาง Fit to Fly หรือ Fit to Travel ซึ่งออกใบรับรองโดยแพทย์

  • ผลการตรวจสุขภาพที่ระบุผลทดสอบโควิด – 19 เป็นลบ

  • แบบฟอร์ม TM.08 แบบคำขออนุญาตกลับเข้ามาในราชอาณาจักรไทย

  • แบบฟอร์มการแจ้งรับบริการเพื่อการกักกันโดยรัฐ จำนวน 14 วัน

ในการเดินทางกลับประเทศไทย ผู้เดินทางชาวไทยที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศจะต้องติดต่อกับสถานทูตไทยในประเทศที่ตนพำนักอยู่ พวกเขาจำเป็นต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและกรอกรายละเอียดลงในเอกสารทั้งหมด ทุกคนจะต้องดำเนินการต่างๆ ผ่านสถานทูตไทยในพื้นที่เท่านั้น ได้แก่ การจัดการเที่ยวบิน (ส่งตัวกลับ) ซึ่งไม่สามารถจองเที่ยวบินเองได้ เมื่อกลับมาถึงคุณจะถูกส่งตัวไปยังโรงแรมที่จัดเตรียมไว้ซึ่งคุณจะต้องอยู่ที่นั่นต่อไปอีก 14 วัน อย่างไรก็ตามแรงงานไทยที่อาศัยอยู่ในต่างแดนไม่ได้มีลักษณะเดียวกันทุกคน พวกเขาอาจจะเป็นนักเรียน ข้าราชการพลเรือน นักท่องเที่ยว หุ้นส่วนชาวต่างชาติ แรงงานข้ามชาติ (ไม่มีเอกสาร) ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้รับเอกสารเหล่านี้ เนื่องจากขั้นตอนที่ยุ่งยาก การขาดเอกสารทางกฎหมายหรือมีปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างการดำเนินการ

แรงงานไทยที่เดินทางมาจากประเทศมาเลเซียชี้แจงว่าเป็นเรื่องยากยิ่งที่จะได้รับการรับรอง Fit-to-Travel (สำหรับการเดินทางทางบก) โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ไม่สามารถพูดภาษามาเลย์หรือภาษาอังกฤษได้ บางคนระบุว่าเพื่อที่จะได้รับเอกสารเหล่านี้พวกเขาจำเป็นต้องเดินทางจากที่ทำงานซึ่งอยู่ใกล้กับชายแดนไทยไปยังกัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวงของมาเลเซีย ซึ่งทำให้เสียทั้งเงินทองและเวลามาก หลายคนตัดสินใจข้ามพรมแดนกลับประเทศไทยอย่างผิดกฎหมาย ยิ่งไปกว่านั้นชายแดนได้ถูกปิดผนึกและรัฐบาลไทยอนุญาตให้ส่งกลับได้เพียง 100 คนต่อวัน บางรายต้องรอเวลาเพื่อเดินทางกลับประเทศไทยนานกว่าหนึ่งสัปดาห์ ในเขตพรมแดนสุขภาพ ความเป็นพลเมืองแทบจะไม่มีน้ำหนักอะไรเลย ทุกอย่างเป็นเรื่องของความปลอดภัยทางชีวภาพและจำนวนผู้ติดเชื้อเป็นศูนย์เท่านั้น ฟาสซินเน้นย้ำว่านี่คือ “หลักการของพลังชีวภาพในการทำให้ชีวิตกลายเป็นเรื่องของการเลือกว่าใครที่ควรจะมีชีวิตอยู่ มีชีวิตแบบไหนและยาวนานแค่ไหน” นอกจากนี้ ชีวิตภายใต้อำนาจทางชีวภาพยังไม่เท่าเทียมกัน (Fassin,2009: 53) กรณีของแรงงานข้ามชาติไทยจากมาเลเซียแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าภายใต้เขตพรมแดนสุขภาพนี้การกลับมาของพวกเขาถูกยืดระยะเวลาออกไปโดยรัฐไทย ซึ่งชีวิตของพวกเขาอาจจะไม่สำคัญนักในขณะที่ร่างกายอยู่ภายใต้การบงการผ่านการเรียกร้องให้เสียสละเพื่อควบคุมไวรัสภายในประเทศ

ความบริสุทธิ์ผุดผ่องของร่างกาย (ชาติ) ไทย

นายแพทย์ ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน กล่าวสรุปสถานการณ์โควิด – 19 ที่ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19 (CCSA) ทำเนียบรัฐบาลแห่งประเทศไทย วันที่ 2 เมษายน 2563 (เครดิต) สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย

นายแพทย์ ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน กล่าวสรุปสถานการณ์โควิด – 19 ที่ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19 (CCSA) ทำเนียบรัฐบาลแห่งประเทศไทย วันที่ 2 เมษายน 2563 (เครดิต) สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย

“ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม จำนวนผู้ป่วยโควิด – 19 รายใหม่ที่รายงานทุกวันเป็นตัวเลขเดียวยกเว้น 18 รายที่พบในกลุ่มผู้อพยพที่ถูกกักกันในจังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม”

กล่าวโดย ดร.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน [1]

ข้อความดังกล่าวแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าประเทศไทยปลอดโควิด – 19 เป็นครั้งแรก[2] และร่างกายของชาติไทยได้รับการชำระล้างหรือทำให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง ข้อยกเว้นในคำพูดบ่งบอกว่า แรงงานข้ามชาติที่เดินทางกลับมาจากมาเลเซียและอยู่ในเขตกักกันของรัฐ​ไม่ได้รับการพิจารณาว่าเป็นส่วนหนึ่งของ 'ร่างกายของชาติไทย' และไม่นับว่าเป็นคนไทยเนื่องจากพวกเขาเป็นผู้อพยพซึ่งมีร่างกายเป็นที่ต้องสงสัยและมีโอกาสที่จะติดเชื้อ ซึ่งสิ่งนี้อาจจะทำให้ร่างกายที่บริสุทธิ์ของชาติไทยต้องแปดเปื้อน

ดร.ทวีศิลป์ กล่าวเพิ่มเติมว่า

"เราสามารถผ่อนคลายได้แต่ประมาทไม่ได้ ... โปรดปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติใหม่ๆ ในที่สุดเราอาจเป็นหนึ่งในประเทศแรกๆ ที่สามารถยุติความยากลำบากที่เกิดจากโรคนี้ได้"

คำพูดนี้แสดงให้เห็นว่าสิ่งที่รัฐไทยต้องการคือ การได้รับความเชื่อถือและยอมรับจากประชาคมโลกว่าสามารถจัดการกับโรคนี้ได้และเป็นหนึ่งในประเทศที่ปลอดโควิด แต่เพื่อให้ประเทศปราศจากจากโควิด – 19 (ซึ่งที่จริงแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำให้เป็นเช่นนั้น) จำเป็นต้องเสียสละหลายสิ่ง นอกเหนือจากการเสียสละของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ที่ทำงานอย่างหนักแล้ว คือการกำหนดมาตรการล็อกดาวน์บังคับให้ผู้คนต้องอยู่บ้านซึ่งนำไปสู่การสูญเสียงานในภาคส่วนที่คนต้องออกไปทำงานนอกบ้าน ผู้คนไม่สามารถเลี้ยงดูครอบครัวของตนเองได้และสิ้นหวังเพราะเงินออมเหลือน้อยลงทุกทีอีกทั้งมีหนี้สินต้องจ่าย กรมสุขภาพจิตรายงานว่า มีคนไทยฆ่าตัวตายในช่วงต้นปี จำนวน 2551 คน อัตราดังกล่าวเพิ่มขึ้น 22 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ผลการศึกษาวิจัยจากทีมนักวิชาการไทยเปิดเผยว่ามี 38 กรณีที่มีผู้ให้สัมภาษณ์ว่าพยายามฆ่าตัวตายจากสาเหตุการปิดประเทศ การปิดกิจการ การตกงาน และการเลิกจ้าง และใน 38 รายนี้ มี 28 ราย ที่เสียชีวิต[3]

ความคิดเรื่อง "ร่างกายที่บริสุทธิ์" ของชาติยังส่งผลให้เกิดความเกลียดกลัวชาวต่างชาติและการเหยียดเชื้อชาติในกรณีของแรงงานไทยที่เดินทางกลับจากประเทศเกาหลีใต้ แรงงานไทยเหล่านี้ถูกเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า ‘ผีน้อย’ เนื่องจากพวกเขาพำนักและทำงานในเกาหลีใต้อย่างผิดกฎหมาย และเป็นกลุ่มแรกๆ ที่เดินทางกลับมายังประเทศไทย ทำให้เกิดประเด็นถกเถียงกันอย่างดุเดือดในสังคมไทย เมื่อสื่อสังคมออนไลน์เปิดเผยให้เห็นว่าแรงงานข้ามชาติหญิงรายหนึ่งไม่ได้กักกันตนเองเมื่อเดินทางมาถึงบ้านเกิดใน จ.เชียงราย เธอได้แวะไปร้านอาหารและซื้อของ จากกรณีของเธอสังคมไทยเริ่มชี้เป้าและตำหนิว่าแรงงานข้ามชาติที่กลับมานั้นขาดความรับผิดชอบต่อสังคมไทย (และพวกเขายังขาดความรับผิดชอบที่ไปอยู่ในประเทศเกาหลีใต้แบบผิดกฎหมายจนส่งผลกระทบต่อนักท่องเที่ยวชาวไทยคนอื่นๆ อีกด้วย) และพวกเขาเป็นผู้แพร่กระจายเชื้อ แม้ว่าพวกเขาจะได้รับการปฏิบัติที่ค่อนข้างแย่จากรัฐบาลไทยก็ตาม แต่ในภายหลังปรากฏว่าผู้ที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสครั้งใหญ่ในประเทศไทยไม่ได้มาจากคนกลุ่มนี้แต่กลับกลายเป็นกลุ่มคนชั้นกลางระดับสูงและคนที่มีชื่อเสียงของไทยที่เข้าไปชมการชกมวยในสนามมวยมากกว่า  

ยิ่งไปกว่านั้นความคิดเรื่องความบริสุทธิ์ผุดผ่องยังแทรกซึมลงไปในระดับจังหวัดและจิตใจของแต่ละบุคคล ตรัง เป็นหนึ่งในไม่กี่จังหวัดที่ปลอดโควิด – 19 ตามรายงานของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อนของผู้เขียนซึ่งเป็นนักเรียนไทยในต่างแดนที่เดินทางกลับจากสหราชอาณาจักรก่อนที่รัฐบาลไทยจะประกาศปิดพรมแดนได้ทำการกักกันตนเองเป็นเวลา 14 วัน ภายในบ้านที่ จ.ตรัง ระหว่างที่รอเขาบอกผู้เขียนว่าเขากังวลว่าอาจจะติดเชื้อแล้วแพร่โรคนี้ไปยังพ่อแม่ของเขา แต่สิ่งที่ทำให้กังวลมากขึ้นอีกคือ เขาอาจจะเป็นผู้ติดเชื้อรายแรกในจังหวัดตรัง ชื่อของเขาจะถูกประกาศและสร้างความอับอาย เราไม่ต้องการเป็นตัวอันตรายที่จะนำความไม่บริสุทธิ์มาสู่แผ่นดิน ในทำนองเดียวกันสิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลไทยมีแนวความคิดอย่างไรเมื่อต้องจัดการกับโควิด – 19 อันเชื่อมโยงกับ ‘ความบริสุทธิ์ของร่างกายชาติไทย’

จุดตรวจวัดอุณหภูมิชายแดนแม่สอด (ฝั่งไทย) (เครดิต) รวีพร ดอกใหม่

จุดตรวจวัดอุณหภูมิชายแดนแม่สอด (ฝั่งไทย) (เครดิต) รวีพร ดอกใหม่

ผู้ย้ายถิ่น ผู้เดินทางกลับ การเมืองร่างกายและสิทธิเสรีภาพ

ในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอนของโควิด – 19 ร่างกายของคนไทยในต่างแดนและแรงงานข้ามชาติ ถูกพิจารณาว่าเป็นอันตรายเหมือนกันหมดทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นคนสัญชาติใด เป็นคนไทยหรือไม่ใช่ก็ตาม พวกเขาจะต้องถูกกักกันก่อนจึงจะสามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้ แม้ว่าร่างกายของพวกเขาจะอยู่ในประเทศไทยแต่พวกเขาจะถูกกีดกันไม่ให้สามารถเข้าถึงสิทธิอย่างเต็มที่ในฐานะพลเมืองไทย โควิด – 19 ส่งผลกระทบต่อร่างกายของคนไทยและแรงงานข้ามชาติอื่นๆ ในรูปแบบที่แตกต่างและคล้ายคลึงกันดังที่ผู้เขียนชี้แจงไว้ต่อไปนี้

 i. ร่างกายของผู้ต้องสงสัยและพิธีกรรมทางเดิน

ดังที่ผู้เขียนได้อธิบายไว้ข้างต้น ผู้อพยพชาวไทยในต่างแดนจำเป็นต้องส่งเอกสารจำนวนมากก่อนที่จะเดินทางกลับประเทศไทย เมื่อเดินทางมาถึงแล้วทุกคนจะต้องอยู่ในสถานที่กักกันของรัฐเป็นระยะเวลา 14 วัน ร่างกายของพวกเขาถือว่าเป็นอันตรายเนื่องจากอาจมีเชื้อไวรัสดังกล่าว ดังนั้นจึงต้องอยู่ในที่ห่างไกลจากผู้คน สิ่งนี้เปรียบเสมือนพิธีกรรมที่พวกเขาอยู่ในสภาวะกำกวม (liminal stage) และจะได้รับการยอมรับกลับคืนสู่สังคมหลังจากที่ร่างกายของพวกเขาได้รับการยืนยันว่าปราศจากไวรัส ยิ่งไปกว่านั้น กฎระเบียบดังกล่าวยังทำให้เกิดเส้นบางๆ ระหว่างการเป็นพลเมืองและการเป็นผู้อพยพ (อื่นๆ) โดยลดสถานะให้เป็นผู้ต้องสงสัย

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ โควิด – 19 ได้ยกเลิกสิทธิของพลเมืองชั่วคราวที่จะมีชีวิตที่เปลือยเปล่า (Bare Life) (Agamben, 2005) การติดป้ายลงไปว่ามาจากต่างประเทศคือร่างกายที่อันตราย ร่างกายที่เปลือยเปล่าไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือคนย้ายถิ่นกลายเป็นภัยต่อความมั่นคงด้านสุขภาพของคนทั้งสังคม นี่คือวิธีการดำเนินการของรัฐยกเว้น

อย่างไรก็ตาม ร่างกายของแรงงานข้ามชาติชาวพม่าซึ่งก็ถือว่าเป็นอันตรายยังคงมีพลังอำนาจบางอย่างอยู่ จากงานของดักลาส (1966) การที่ร่างกายอยู่สภาวะกำกวม เช่น ทารกในครรภ์ของผู้หญิงนั้นมีอำนาจแม้ว่าจะยังไม่เป็นมนุษย์ก็เพราะอาจทำให้ผู้ที่อุ้มท้องเสียชีวิตได้ กรณีร่างกายของผู้ย้ายถิ่นพวกเขาอาจมีหรือไม่มีไวรัสอยู่ จึงทำให้สถานะของพวกเขาไม่ชัดเจน ดั้งนั้นร่างกายของพวกเขาจึงเป็นอันตรายต่อประเทศไทยเนื่องจากอาจแพร่เชื้อไวรัสไปสู่คนไทยในประเทศได้ ในประเทศสิงคโปร์ ชุมชนแรงงานข้ามชาติถูกลืมโดยรัฐบาลและส่งผลให้เกิดการแพร่กระจายของไวรัสในวงกว้าง สิ่งนี้สร้างความกังวลให้แก่รัฐบาลไทยเนื่องจากต้องการให้ประเทศไทยพ้นจากการระบาดระลอกสอง ดังนั้น ในขณะที่แรงงานข้ามชาติเป็นมลทินและกลายเป็นเรื่องที่ต้องควบคุมแต่พวกเขาก็ได้รับการดูแลรักษาพยาบาลเช่นเดียวกับคนไทยในระยะเวลาสั้นๆ เนื่องจากพวกเขามีอันตราย (และอันตรายนี้เป็นอำนาจในตัว) ขณะเดียวกันแรงงานไทยในต่างแดนก็มีความรู้สึกว่าตนถูกลดทอนความเป็นพลเมืองเมื่อข้ามพรมแดนสุขภาพ โควิด – 19 และรัฐบาลไทยได้ทำให้พวกเขาผ่านช่วงเวลาสั้นๆ ของความกำกวมซึ่งเป็นประสบการณ์เดียวกันกับที่แรงงานข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้านได้เผชิญ

 ii. ช่วงเวลาจำกัดสองเท่า

ในช่วงกลางเดือนมีนาคม รัฐบาลไทยได้ประกาศล็อกดาวน์และปิดกั้นพรมแดน เป็นเวลาเดียวกับที่จำนวนผู้ติดเชื้อพุ่งสูงขึ้น ซึ่งเป็นจังหวะเดียวกับที่แรงงานข้ามชาติจำนวนมากจากประเทศเมียนมาถึงเวลาต่ออายุหรือขยายใบอนุญาตทำงานพอดี กระบวนการนี้ไม่สามารถทำได้ในกรุงเทพฯ แต่ละคนจำเป็นต้องกลับเดินทางกลับเมียนมา พวกเขาจึงมักผนวกเอาการต่ออายุใบอนุญาตทำงานเข้ากับวันหยุดสงกรานต์เพื่อจะได้ใช้เวลาในบ้านเกิดอย่างคุ้มค่า อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการปิดประเทศทำให้หลายคนตกงาน แม้แต่กลุ่มที่ (ยัง) ไม่ถูกเลิกจ้างก็มีความวิตกกังวลกับอนาคตที่ไม่แน่นอนนี้และวันหนึ่งในไม่ช้าพวกเขาอาจจะถูกให้ออกจากงานเช่นกัน ทำให้พวกเขาเกิดความกังวลว่าควรจะกลับบ้านที่เมียนมาหรือว่ารอให้สถานการณ์ดีขึ้นแล้วจึงต่อวีซ่าหรือว่าควรจะอาศัยอยู่ในประเทศไทยต่อไป

ในกลุ่มที่ตัดสินใจเดินทางกลับ หลายคนต้องติดอยู่ที่ชายแดนไทย-เมียนมา เนื่องจากพรมแดนถูกปิดต้องใช้เวลาหลายวันก่อนที่รัฐบาลไทยและเมียนมาจะมีข้อตกลงเปิดพรมแดนชั่วคราวให้กลุ่มแรงงานข้ามชาติเหล่านี้เดินทางกลับได้ ในเวลานั้นรัฐบาลเมียนมากีดกันพลเมืองของตัวเองที่จะกลับบ้านเช่นเดียวกับประเทศไทย กลุ่มผู้ถูกส่งกลับจำเป็นต้องกักกันตัวเองเป็นเวลา 16 วัน ตามที่รัฐบาลเมียนมาสั่ง ต่อมาผู้เดินทางกลับบางส่วนต้องการกลับมาที่ฝั่งไทยเมื่อทราบข่าวจากเพื่อนฝูงของตนเองว่าโรงงานในไทยได้เปิดทำการอีกครั้งหลังจากปิดไป 3 เดือน แต่พรมแดนก็ยังคงปิดไม่ให้มนุษย์ข้ามได้ ยกเว้นการเปิดพรมแดนเพื่อการซื้อขายสินค้าเท่านั้น พวกเขาหลายคนตัดสินใจเดินทางกลับโดยข้ามพรมแดนอย่างผิดกฎหมายซึ่งบางส่วนถูกตำรวจชายแดนไทยจับตัวและส่งกลับไปยังฝั่งเมียนมา

นอกจากนี้ ยังมีช่วงเวลาที่รัฐบาลท้องถิ่นมีความยืดหยุ่นในการเปิดพรมแดนให้ผู้อพยพข้ามกลับได้ แต่พวกเขาก็ยังจำเป็นต้องมีเอกสารแสดงตัวตนทั้งหมดตามที่ผู้เขียนได้กล่าวไว้ข้างต้นเพื่อผ่านพรมแดนสุขภาพ ที่ชายแดนฝั่งไทย เจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบอุณหภูมิร่างกายของผู้อพยพ มีกรณีที่ผู้อพยพชาวไทใหญ่ผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองจากฝั่งเมียนมาแล้วจะเข้ามายังฝั่งไทยแต่อุณหภูมิร่างกายสูงเกิน 37.5 องศาเซลเซียส  เจ้าหน้าที่ไทยจึงได้ส่งตัวเขากลับแต่รัฐบาลเมียนมาไม่ให้เขากลับเข้าประเทศ นักเคลื่อนไหวท้องถิ่นใน อ.แม่สอด รายงานว่ามีอีกกรณีหนึ่งที่แรงงานหญิงชาวมุสลิมกลับไปเมียนมาในช่วงแรกของการปิดพรมแดน พวกเธอสามารถกลับเข้าเมียนมาได้ แต่รัฐบาลเมียนมาได้กักกันพวกเธอไว้ที่ชายแดนเป็นเวลา 16 วัน เมื่อไปถึงบ้านชาวบ้านต่างไม่พอใจเพราะกลัวว่าพวกเธออาจแพร่เชื้อไวรัสไปยังพวกเขารวมถึงสมาชิกในครอบครัว จึงต้องอยู่ในบ้านเพิ่มอีก 14 วัน ต่อมาเมื่อกลับมาที่ฝั่งไทย ชุมชนแรงงานข้ามชาติใน อ.แม่สอด ก็เรียกร้องให้กักกันตนเองอีก 14 วัน เธอได้รับอาหารจากพี่สาวที่มาเยี่ยมเธอวันละสองครั้ง สิ่งนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าในช่วงการระบาดของโควิด – 19 และระยะผ่อนคลาย แรงงานข้ามชาติที่อยู่ในสถานะจำกัดอยู่แล้วจะต้องตกอยู่ในเงื่อนไขอื่นๆ ด้วย ซึ่งไม่แน่ใจว่าสิ่งเหล่านี้จะสิ้นสุดเมื่อใด ชีวิตของพวกเขาเหมือนจำกัดอยู่ระหว่างเขตแดนสองชั้น  ชั้นแรกมาจากสถานะของพวกเขาในสังคมไทย และโควิด – 19 ก็มาสร้างความจำกัดอีกชั้นให้กับพวกเขา

iii. ความยากลำบากที่เพิ่มขึ้น

มีแรงงานข้ามชาติอีกกลุ่มหนึ่งที่ตัดสินใจไม่กลับเนื่องจากยังไม่ถูกยกเลิกการจ้างงานหรือนายจ้างไม่อนุญาตให้กลับ กลุ่มนี้อาจไม่ต้องเผชิญกับความจำกัดสองชั้นหรือหลายชั้นแต่กลับต้องรับมือกับความยากลำบากในชีวิตประจำวันขณะที่อยู่ในช่วงเวลานี้

ตี๋ตี๋ ทำงานเป็นแม่บ้านอยู่ชานเมืองกรุงเทพฯ เธอกล่าวว่าแม้ว่าโควิด – 19 จะไม่ได้ทำให้เธอตกงานแต่ในระหว่างที่ปิดประเทศ เธอจะต้องเพิ่มชั่วโมงการทำงาน เนื่องจากสมาชิกในครอบครัวของนายจ้างอยู่กับบ้านในช่วงระหว่างการล็อกดาวน์ นอกเหนือจากหน้าที่ประจำแล้ว พวกเขายังเรียกร้องการบริการเพิ่มขึ้น ดังนั้น เธอจึงมีเวลาพักผ่อนน้อยลง เธอกล่าวว่าสิ่งเหล่านี้พอรับได้และดีกว่าที่จะต้องตกงานในช่วงวิกฤติแบบนี้ เช่นเดียวกับกรณีของ ตู โม ที่ทำงานเป็นผู้ช่วยในร้านค้าใจกลางกรุงเทพฯ เธอไม่สามารถกลับไปประเทศเมียนมาได้เพราะนายจ้างไม่ต้องการแบกรับความเสี่ยงที่เธออาจไม่สามารถเดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยได้อีก เธอเล่าให้ฟังว่าคิดถึงครอบครัวโดยเฉพาะลูกชายวัย 2 ขวบ ที่พากลับประเทศเมียนมาเมื่อปีที่แล้วและขอให้พ่อแม่ช่วยดูแลเขา เธอตั้งตารอจะได้เห็นและกอดเขาอีกครั้งในช่วงติงจัน (Thingyan) ซึ่งเป็นเทศกาลปีใหม่ของเมียนมาแต่มันเป็นไปไม่ได้เพราะการระบาดของโรคโควิด – 19 สำหรับเธอแล้วติงจันไม่ได้เป็นแค่วันหยุดเท่านั้นแต่ยังเป็นช่วงเวลาอันมีค่าที่ได้อยู่บ้านพักผ่อนพบปะเพื่อนฝูงและญาติๆ เข้าร่วมในพิธีทางศาสนารวมถึงการจัดการธุระทางราชการ เช่น การต่ออายุใบอนุญาตทำงาน

วิน หนุ่มชาวลาหู่-พม่า ทำงานในฟาร์มกล้วยไม้ จ.นครปฐม เล่าให้ผู้เขียนฟังว่าก่อนเกิดการระบาดของโรคโควิด – 19 เขาและเพื่อนร่วมงานต้องทำงานทุกวัน แต่ในระหว่างการปิดประเทศ คำสั่งซื้อจากต่างประเทศได้หยุดชะงักลง นายจ้างของเขาเลิกเพาะปลูกกล้วยไม้และเลิกจ้างพนักงานครึ่งหนึ่ง ตัวเขาไม่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากทำงานกับนายจ้างคนนี้มาเกือบ 8 ปี แต่เขาไม่ได้เงินเดือน นายจ้างอนุญาตให้เขาอยู่ในบ้านพักคนงานได้ เขาหยุดส่งเงินกลับบ้านเป็นเวลานานกว่าสามเดือน ภรรยาโทรมาถามว่าจะส่งเงินให้เธอได้เมื่อไรเพราะลูกๆ ต้องกินและใช้จ่ายทุกวัน เขาต้องการงานพาร์ตไทม์เพื่อหารายได้แต่มันเป็นไปไม่ได้เลยในช่วงเวลานี้ ทำให้เขาเครียดและสิ้นหวัง

นาฬิกาแสดงเขตเวลาในสำนักงานศุลกากรของชายแดนไทย-เมียนมา อ.ท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา และ อ.แม่สอด ประเทศไทย (เครดิตภาพถ่าย) Uwe Aranas

นาฬิกาแสดงเขตเวลาในสำนักงานศุลกากรของชายแดนไทย-เมียนมา อ.ท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา และ อ.แม่สอด ประเทศไทย (เครดิตภาพถ่าย) Uwe Aranas

บทสรุป

ดังที่เรารู้กันดีว่าการระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อร่างกายของผู้อพยพในรูปแบบที่แตกต่างและคล้ายคลึงกันกับคนไทย สำหรับแรงงานข้ามชาติชาวพม่า ร่างกายของพวกเขามีความจำเป็นต่อเศรษฐกิจไทยในฐานะแรงงาน ไม่ใช่เพื่ออย่างอื่น ในแง่หนึ่งมันเป็นร่างกายที่ใช้แล้วทิ้ง เพราะเมื่อพวกเขากลับไป แรงงานอพยพคนอื่นก็สามารถเข้ามาแทนที่เขาหรือเธอได้ ในแง่นี้พวกเขาจึงเป็น 'อื่น' ที่เป็นแก่นสารสำหรับรัฐไทย (และพลเมืองจำนวนมากที่จ้างแรงงานข้ามชาติเหล่านี้)

ในขณะที่โควิด -19 ให้ความสำคัญกับ 'ร่างกาย' รุนแรงขึ้น โดยการกำหนดสถานะของการยกเว้นและการสร้างพรมแดนด้านสุขภาพที่เข้มงวดนอกเหนือจากพรมแดนปกติ (ทางการด้านเมืองหรือภูมิศาสตร์) การที่พลเมืองไทยกลับมาค้นพบว่าตัวพวกเขาเองถูกควบคุมในรูปแบบลักษณะเดียวกัน เนื่องจากร่างกายของพวกเขาในฐานะที่เป็นพาหะของไวรัสอยู่ภายใต้ระบบการปกครองด้านสุขภาพเดียวกันซึ่งกำหนดให้ทุกคนไม่ว่าจะเป็นพลเมืองหรือไม่ใช่พลเมืองต้องได้รับการตรวจสอบและเข้าสู่ช่วงกำกวม ก่อนที่จะได้รับการยอมรับกลับเข้าสู่สังคมไทย ผู้เขียนชี้แจงให้เห็นในบทความนี้แล้วว่าเป้าหมายสูงสุดของสังคมไทยคือ การทำให้สังคมบริสุทธิ์ การชำระล้างเชื้อไวรัสทั้งหมด แม้กระทั่งการได้รับการยอมรับจากนานาชาติสำหรับการรับมือที่ประสบความสำเร็จ แต่ไม่ได้คำนึงถึงพลเมืองของตนเองที่หลงเหลืออยู่ในต่างประเทศ เศรษฐกิจที่ตกต่ำ คนตกงานและการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นในระดับประเทศ

แม้ว่าตลอดหลายเดือนที่ผ่านมาจะมียอดผู้ป่วยรายใหม่เป็นศูนย์ แต่จากการสำรวจชี้ให้เห็นถึงการสนับสนุนอย่างเป็นวงกว้างในหมู่ประชาชนเพื่อให้ใช้ พรก.ฉุกเฉิน และรักษาจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เป็นศูนย์จากมูลค่าความเสียหายทั้งหมด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าวาทกรรมเรื่องความบริสุทธิ์ของชาติไทยดำเนินไปอย่างลึกซึ้งและแพร่หลาย (ไม่เพียงแค่ในรัฐบาล) แม้ว่าหน่วยงานด้านสุขภาพของไทยจะมีความพร้อมในการรับมือกับผู้ป่วยในระดับหนึ่ง (ซึ่งอาจมีหากรัฐผ่อนปรนมาตรการและกฎระเบียบต่างๆ มากกว่านี้) แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะยกเลิกภาวะฉุกเฉินลงเมื่อใด

———

* คณะกรรมการ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการเมืองทรัพยากรเพื่อการพัฒนาสังคม ศูนย์ศึกษาการพัฒนาสังคม คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

[1] ดร.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกประจำศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน โควิด – 19  อ้างจากหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ (13 พฤษภาคม 2020) ไม่มีการเรียกข้อมูลผู้ติดเชื้อราย ใหม่จากครั้งแรกโดย https://www.bangkokpost.com/thailand/general/1917380/no-new-covid-cases-for-the-first-time  (เข้าถึงครั้งสุดท้ายวันที่ 1 ตุลาคม 2563)

[2] ในประเทศไทยทุกคนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อโควิด – 19 จะถูกส่งตัวไปโรงพยาบาลและถูกกักบริเวณ

[3] อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ และคณะ (2020) โครงการวิจัย คนจนเมืองที่เปลี่ยนไปในสังคมเมืองที่กำลังเปลี่ยนแปลง สนับสนุนโดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)