ธรรมชาติเชิงวิพากษ์: การให้คุ้มครองผู้สื่อข่าวที่ทำงานเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม: เครือข่ายสภาการสื่อมวลชนแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถช่วยได้หรือไม่?

เรื่องโดย อะนิซะ วิดิยะซะรี*

[English version available here]

ภาพการตัดไม้ทำลายป่าในเมืองบอร์เนียว (ภายถ่ายโดย INDOMET in the Heart of Borneo, WIKIMEDIA COMMONS

ภาพการตัดไม้ทำลายป่าในเมืองบอร์เนียว (ภายถ่ายโดย INDOMET in the Heart of Borneo, WIKIMEDIA COMMONS

ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้การทำงานของนักสื่อสารมวลชนอาจจะกลับกลายเป็นอันตรายต่อผู้สื่อข่าวด้านสิ่งแวดล้อมผู้ซึ่งเผชิญกับภัยคุกคาม การถูกทำร้ายร่างกายและบางครั้งอาจถึงขั้นเสียชีวิตเนื่องด้วยสาเหตุจากการทำงานของพวกเขาเหล่านั้น สิ่งนี้เป็นเรื่องที่น่ากังวลอย่างยิ่งเนื่องจากผู้สื่อข่าวที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อมเป็นแนวหน้าในการทำภาระกิจของเราที่ทำงานเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมเพราะพวกเขานั้นมีบทบาทสำคัญในการให้ความรู้แก่สาธารณชนเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม

 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับการจัดอันดับ[i] ให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นมิตรมากที่สุดสำหรับนักข่าวและผู้สื่อข่าวด้านสิ่งแวดล้อมตกเป็นเป้าหมายสำคัญในการถูกคุกคามและในบางกรณีอาจถูกสังหารด้วยซ้ำ สำนักข่าวเดอะการ์เดียนระบุว่าการรายงานข่าวด้านสิ่งแวดล้อมเป็นหนึ่งในสายงานที่อันตรายที่สุดรองจากการทำข่าวสงคราม[ii]. จากรายงานของ Reporters Sans Frontières (RSF) ในปี 2559 พบว่าการสังหารนักข่าวด้านสิ่งแวดล้อมร้อยละ 90 ถูกค้นพบในเอเชียโดยภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถือได้ว่าเป็นพื้นที่ที่อันตรายที่สุด[iii].

 หน่วยงานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในการทำหน้าที่คุ้มครองนักข่าวและเสรีภาพสื่อมวลชน คือ สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ (National Press Councils) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลตนเองที่ตั้งขึ้นโดยสื่อมวลชนเพื่อรักษาความมั่นใจต่อสาธารณชน พวกเขาได้มีการกำหนดมาตราฐานวิชาชีพสำหรับนักข่าวและกำหนดกฎเกณฑ์เพื่อให้ผู้ที่ตกอยู่ในข่าวสามารถร้องเรียนได้หากเกิดความไม่ถูกต้องจากการนำเสนอข่าว[iv] ดังนั้น สภาการสื่อมวลชนจึงมีบทบาทสำคัญในการตรวจสอบความรับผิดชอบของสื่อ สภาการสื่อมวลชนยืนหยัดกับการทำข่าวที่ดีมีความรับผิดชอบและเชื่อถือได้เนื่องจากเป็นการส่งเสริมจรรยาบรรณสำหรับนักข่าวและตรวจสอบข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการละเมิดจรรยาบรรณนี้[v] เพื่อปฏิบัติตามกฎของสภาการสื่อมวลชน นักข่าวและผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อจึงประกาศการอุทิศตนเพื่อคุณค่าของความเที่ยงธรรมเพื่อคนส่วนใหญ่และประชาธิปไตย

ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สภาการสื่อมวลชนมีปรากฏอยู่เพียง 5 ใน 11 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย เมียนมา และติมอร์ - เลสเต ในปี 2562 สภาการสื่อมวลชนจำนวน 4 แห่ง ได้จัดตั้งเครือข่ายสภาการสื่อมวลชนแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAPC-Net) โดยอ้างถึงความจำเป็นในการร่วมมือในระดับภูมิภาค แนวคิดของความร่วมมือระดับภูมิภาคนี้ถูกมองว่าเป็นประโยชน์ในการพยายามที่จะพัฒนาเสรีภาพสื่อมวลชนในภูมิภาค ความร่วมมือระดับภูมิภาคสามารถจัดการกับความท้าทายและโอกาสของสื่อมวลชนระดับภูมิภาคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งเป็นเวทีสำหรับนักข่าวในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน

บทความนี้จะศึกษาถึงสถานะปัจจุบันของการทำข่าวด้านสิ่งแวดล้อมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทำการสำรวจว่าเครือข่ายสภาการสื่อมวลชนระดับภูมิภาคจะสามารถช่วยคุ้มครองนักข่าวด้านสิ่งแวดล้อมและเป้าหมายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืนทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สถานะของเสรีภาพสื่อมวลชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เผชิญกับสถานการณ์วิกฤตในเรื่องเสรีภาพขั้นพื้นฐานซึ่งรวมถึงเสรีภาพสื่อมวลชน (ตามรายงานเสรีภาพสื่อมวลชนหลายฉบับและดัชนีเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งรวมถึง Reporters Sans Frontières (RSF) [vii] และ Freedom House[viii] แม้จะมีกฎบัตรอาเซียนและปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอาเซียนซึ่งกำหนดว่าอาเซียนและประเทศสมาชิกจะต้องเคารพ“สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นในการแสดงออกของทุกคน รวมถึงเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นโดยปราศจากการแทรกแซงและเพื่อแสวงหา การได้รับและการให้ข้อมูล”[ix] แนวโน้มปัจจุบันแสดงให้เห็นว่าพื้นที่สำหรับสาธารณะในการแสดงความคิดเห็นกำลังหดหายไปทั่วทั้งภูมิภาค

รูปที่ 1. ผลการดำเนินงานของประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในดัชนีเสรีภาพสื่อมวลชน จัดทำโดย RSF[x] และ Global Freedom Index ข้อมูลโดย Freedom House[xi], 2020

รูปที่ 1. ผลการดำเนินงานของประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในดัชนีเสรีภาพสื่อมวลชน จัดทำโดย RSF[x] และ Global Freedom Index ข้อมูลโดย Freedom House[xi], 2020

ตามดัชนีเสรีภาพสื่อมวลชนโลกประจำปี 2563 จาก RSF ระบุว่าติมอร์ – เลสเต เป็นประเทศเดียวในภูมิภาคที่ติด 100 อันดับแรก ส่วนประเทศที่เหลือยกเว้นมาเลเซียและอินโดนีเซียอยู่ในสามอันดับสุดท้ายของรายชื่อทั้งหมด เวียดนามเป็นประเทศที่มีผลการดำเนินงานแย่ที่สุดในแง่ของเสรีภาพสื่อมวลชนในภูมิภาค ในขณะเดียวกันรายงานปี 2563 จาก Freedom House แสดงให้เห็นว่านอกเหนือจากประเทศติมอร์ – เลสเต ก็ไม่มีประเทศใดในภูมิภาคนี้ที่สามารถจัดประเภทเป็น "การเป็นอิสระ" ในเรื่องเสรีภาพในการแสดงออก ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์และไทย "การมีเสรีภาพในบางส่วน" ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ "การไม่เป็นอิสระ" ข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้มีความเข้าใจที่ดีเกี่ยวกับสถานการณ์ร้ายแรงที่นักข่าวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องเผชิญ

ข้อมูลดังกล่าวยังแสดงให้เห็นถึงประวัติที่ย่ำแย่ของรัฐบาลในภูมิภาคนี้ในการรักษาเสรีภาพสื่อมวลชน แม้ว่าสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนจะได้รับการยอมรับในตราสารด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ มาตรา 19 ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า “ทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก สิทธินี้รวมถึงเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นโดยปราศจากการแทรกแซงและในการแสวงหา การรับและส่งต่อข้อมูลและความคิดผ่านสื่อใดๆ และโดยไม่คำนึงถึงพรมแดน”

 นอกจากนี้ประเทศต่างๆในภูมิภาค ยกเว้น บรูไน มาเลเซีย เมียนมา และสิงคโปร์ ยังได้เป็นภาคีลงนามในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights: ICCPR) โดยกติการะหว่างประเทศนี้ยังรับรองเสรีภาพของสื่อมวลชนดั่งที่ปรากฏในมาตรา 19 ซึ่งอธิบายว่า “ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก สิทธินี้จะรวมถึงเสรีภาพในการแสวงหา การรับและให้ข้อมูล และความคิดทุกประเภท โดยไม่คำนึงถึงพรมแดน ไม่ว่าจะเป็นทางคำพูด เป็นลายลักษณ์อักษรหรือการจัดพิมพ์ในรูปแบบของงานศิลปะหรือผ่านทางสื่ออื่นๆ ที่เขาได้เลือกกระทำ"

ปัจจุบันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีเพียง 5 ประเทศเท่านั้นที่มีสภาการสื่อมวลชน ได้แก่ อินโดนีเซียฟิลิปปินส์ ไทย เมียนมา และติมอร์ - เลสเต การปรากฏตัวของหน่วยงานกำกับดูแลตนเองเหล่านี้ในประเทศขนาดเล็กในภูมิภาคเป็นการแสดงให้เห็นถึงความโดดเด่นของมาตราการของรัฐที่ตั้งอยู่โดยรอบในภูมิภาคแห่งนี้ แทนที่จะเป็นการมาตราการดูแลตนเองของสื่อในการจัดการกับปัญหาทางด้านจริยธรรมและเสรีภาพของสื่อ การมีอำนาจของรัฐที่ควบคุมหรือเป็นเจ้าของสื่อได้ขัดขวางการเกิดขึ้นขององค์กรอิสระเพื่อตรวจสอบแนวทางการปฏิบัติด้านจริยธรรมของสื่อรวมทั้งการส่งเสริมเสรีภาพทางด้านการทำงานของสื่อมวลชน

 การคุกคามนักข่าวทางด้านสิ่งแวดล้อม

การคุกคามนักข่าวทางด้านสิ่งแวดล้อมโดยส่วนใหญ่มักจะเกิดจากการกระทำจากเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งเป็นเรื่องปกติอย่างมากในภูมิภาคนี้ เหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้บางครั้งได้ส่งผลถึงชีวิตของผู้สื่อข่าว ความเสี่ยงสูงของผู้สื่อข่าวด้านสิ่งแวดล้อมที่ต้องเผชิญนั้นมีความใกล้เคียงกับภัยคุกคามร้ายแรงที่นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมต้องเผชิญ ยกตัวอย่างเช่น นักเคลื่อนไหวทางด้านสิ่งแวดล้อมจากทั่วโลกจำนวน 164 คน ถูกสังหารในปี 2018 โดยเฉพาะประเทศฟิลิปปินส์พบว่าเป็นประเทศที่อันตรายที่สุดสำหรับผู้พิทักษ์สิ่งแวดล้อม เพียงแค่ในปีดังกล่าวพบว่ามีนักอนุรักษ์และปกป้องสิ่งแวดล้อมจำนวนทั้งสิ้น 30 คนที่ถูกฆาตกรรม[xii]

 หนึ่งในกรณีที่น่าอับอายที่สุดของการสังหารนักข่าวด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศฟิลิปปินส์เกิดขึ้นในเดือนมกราคม 2560 เมื่อนาย มาริโอ คอนทาโออิ (Mario Contaoi) นักวิชาการศึกษาและอดีตผู้ประกาศข่าวด้านการปกป้องและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ถูกคนร้ายยิงเสียชีวิต บ่อยครั้งที่ นายคอนทาโออิ มักจะพูดจาอย่างโผงผางในการต่อต้านทหารอย่างหนักหน่วงในสถานที่ที่มีโครงการที่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมตั้งอยู่[xiii] จนถึงขณะนี้เจ้าหน้าที่ยังไม่สามารถระบุตัวผู้ทำร้ายและแรงจูงใจในการฆาตกรรมครั้งนี้ได้[xiv]

ในประเทศกัมพูชา นาย เฮ็ง เสเรีย โอโดม (Hang Serei Odom) ผู้สื่อข่าวของ Virakchun Khmer Daily ซึ่งเป็นสำนักพิมพ์ภาษาเขมร ถูกพบว่าเสียชีวิตในท้ายรถของตนเองที่สวนมะม่วงหิมพานต์ ในอำเภอโอจุม (O'Chum) ที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดรัตนคีรี (Ratanakiri) ในเดือนกันยายน 2555 นาย เฮ็ง เสเรีย โอโดม ได้มีการรายงานบ่อยครั้งเกี่ยวกับการแอบลักลอบตัดต้นไม้ในจังหวัดดังกล่าว[xv] ร้อยเอกสารวัตรทหารในพื้นที่และภรรยาของเขาถูกตั้งข้อหาฆาตกรรมในเบื้องต้นแต่หลังจากนั้นข้อกล่าวหาดังกล่าวก็ถูกยกเลิกไป[xvi]

ประเทศเมียนมา ยังคงเป็นสถานที่ที่อันตรายในการรายงานข่าวเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม นาย ซอว์มอ ตุน (Soe Moe Tun) ผู้สื่อข่าวท้องถิ่นของหนังสือพิมพ์ Daily Eleven ถูกทำร้ายร่างกายจนเสียชีวิตเมื่อเดือนธันวาคม 2559 เหตุการณ์นี้ไม่พบผู้กระทำความผิดและแรงจูงใจที่อยู่เบื้องหลังการฆาตกรรมแต่ในขณะก่อนที่เขาจะเสียชีวิตนั้นเขากำลังสืบสวนเรื่องราวของการลักลอบตัดไม้และการลักลอบขนไม้ในเขตซะไกง์ (Sagaing Region) [xviii] (ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเมียนมา) เพียงไม่กี่เดือนก่อนหน้าที่จะเกิดเหตุ ในเดือนตุลาคม นาย คอติน ซอว์โอ (Ko Tim Zaw Oo) นักข่าวอีกคนหนึ่งที่รายงานและเขียนบทความเกี่ยวกับโรงเลื่อยไม้ผิดกฎหมายที่ตั้งอยู่ในเมืองตะเบจิ้น (Thabeikkyin Township) ได้รับการข่มขู่และถูกคุกคามจนต้องหลบหนีซ่อนตัว[xix]

ในอินโดนีเซีย มาราเด็น เซียนิปาร์ และ มาตัวร์ ซิเรก้า (Maraden Sianipar and Martua Siregar) สองนักข่าวที่ได้รายงานการปลูกปาล์มน้ำมันผิดกฎหมายทางตอนเหนือของเกาะสุมาตราถูกพบเป็นศพลอยอยู่ในคูน้ำใกล้สวนปาล์มเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2562 เพียงไม่กี่สัปดาห์หลังจากการตายของ กอร์ฟิด ซิเรก้า (Golfrid Siregar) นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักจากทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา[xx] ได้มีการจับกุมผู้ต้องหาทั้ง 5 คน รวมถึงเจ้าของสวนปาล์มน้ำมันบนเกาะสุมาตราที่เป็นสถานที่พบศพของนักข่าวทั้งสองราย โดยพวกเขาเหล่านั้นได้ถูกตั้งข้อฆาตกรรมโดยเจตนา[xxi]

การรายงานข่าวด้านสิ่งแวดล้อมไม่เพียงแต่มีความเสี่ยงสำหรับนักข่าวเท่านั้นแต่ยังเป็นอันตรายต่อชุมชนในพื้นที่เนื่องจากการทำข่าวด้านสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่จะครอบคลุมถึงกรณีที่ชุมชนได้รับผลกระทบอีกด้วย หนึ่งในตัวอย่างที่น่าสยดสยองที่สุดคือการเสียชีวิตของ ชุต วุตตี้ (Chut Wutty) ประธานกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในกรุงพนมเปญซึ่งถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจสังหารขณะพานักข่าวสองคนไปใกล้สถานที่ลักลอบตัดไม้อย่างผิดกฎหมายในเดือนเมษายน 2555[xxii]

อันตรายของการรายงานข่าวด้านสิ่งแวดล้อมยังหมายรวมถึงความเสี่ยงทางกฎหมายอีกด้วย การล่วงละเมิดทางกฎหมายเป็นรูปแบบหนึ่งของการคุกคามนักข่าวด้านสิ่งแวดล้อมที่พบบ่อยที่สุด รัฐบาลในภูมิภาคนี้มีความเชี่ยวชาญในการผ่านและบังคับใช้กฎหมายในเพื่อปราบปรามและปิดปากผู้ไม่เห็นด้วย เมื่อไม่นานมานี้การเติบโตของแพลตฟอร์มสื่อออนไลน์ส่งผลให้เกิดการเพิ่มขึ้นของกฎหมายที่มุ่งเป้าไปที่การควบคุมการสื่อสารมวลชนบนเว็บไซต์และการรายงานทางออนไลน์

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2558 ทุ่งคำ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งเป็นบริษัทเหมืองแร่แห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ได้ยื่นคำฟ้องต่อนักข่าวหลายคนจากสำนักข่าวไทยพีบีเอส (Thai PBS) ซึ่งเป็นช่องโทรทัศน์สาธารณะในประเทศเกี่ยวกับคลิปนักข่าวพลเมืองที่เผยแพร่ค่ายเยาวชนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อมในอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย[xxiii] ทางบริษัทได้ยื่นเรื่องร้องเรียนโดยอ้างถึงประมวลกฎหมายอาญาแห่งประเทศไทย มาตรา 326 ในข้อหาหมิ่นประมาทในพื้นที่สาธารณะ[xxiv] จากข้อมูลของ Fortify Rights ในช่วงปี 2553 – 2561 หจก.ทุ่งคำ ได้ฟ้องร้องดำเนินคดีทางอาญาและทางแพ่งอีกอย่างน้อย 19 คดีกับชาวจังหวัดเลย 33 คน รวมถึงสมาชิกกลุ่มรักบ้านเกิด (Khon Rak Ban Kerd Group: KRBKG) ซึ่งเป็นองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชนที่มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการรวมกลุ่มประท้วงต่อต้านการทำเหมืองแร่ทองคำในท้องถิ่น[xxv]

การคุกคามทางกฎหมายนี้ไม่ได้พุ่งเป้าไปที่นักข่าวภายในประเทศเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงนักข่าวต่างประเทศอีกด้วย ในกรณีของประเทศอิโดนีเซียที่เกิดขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมา ฟิลิปส์ จาค็อบสัน (Philip Jacobson) บรรณาธิการแพลตฟอร์มการอนุรักษ์และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ตั้งอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ถูกควบคุมตัวเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2562 จากนั้นต่อมาถูกจับกุมอีกครั้งในวันที่ 21 มกราคม 2563 โดยเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองของอินโดนีเซียกล่าวหาว่าเขาละเมิดเงื่อนไขวีซ่าของตนเอง[xxvi]  จาค็อบสัน เคยเขียนบทความให้กับ Mongabay เกี่ยวกับการทำลายสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากผู้ผลิตกระดาษรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของอินโดนีเซียในเกาะบอร์เนียวและมักวิพากษ์วิจารณ์ประธานาธิบดีชาวอินโดนีเซีย Joko Widodo เกี่ยวกับประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมของเขาในอดีต[xxvii]

สภาการสื่อมวลชนจะทำงานเพื่อสนับสนุนหรือปกป้องนักข่าวต่างๆ ในกรณีดังกล่าวข้างต้นหรือไม่ ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน เนื่องจากในประเทศที่มีสภาผู้สื่อข่าวบทบาทของพวกเขาในกรณีการละเมิดเหล่านี้แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ โดยทั่วไปแล้วอำนาจของสภาการสื่อมวลชนเกี่ยวข้องกับจริยธรรมและจรรยาบรรณของตนเอง ดังนั้นพวกเขาจึงไม่สามารถแทรกแซงการดำเนินคดีทางกฎหมายได้เมื่อมีการฟ้องร้องผู้สื่อข่าวในศาลเกิดขึ้น บทบาทของสภาการสื่อมวลชนส่วนใหญ่ดูเหมือนจะสร้างการรับรู้เกี่ยวกับคดีและกดดันให้รัฐบาลของพวกเขายึดมั่นในหลักการของเสรีภาพสื่อมวลชนซึ่งเป็นบทบาทที่สามารถขยายความข้ามภูมิภาคได้โดยเครือข่ายที่ดำเนินงานอยู่ของสภาการสื่อมวลชนระดับภูมิภาค เครือข่ายสภาการสื่อมวลชนสามารถช่วยในการรวบรวมยุทธศาสตร์การสนับสนุนช่วยเหลือในระดับภูมิภาคในการกดดันรัฐบาลแต่ละประเทศเพื่อรับรองเสรีภาพสื่อมวลชนในประเทศของตน

วารสารสิ่งแวดล้อมเพื่อเพิ่มความโปร่งใสและความรับผิดชอบ

เช่นเดียวกับที่อื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โครงการพัฒนาหลายๆ โครงการอาจส่งผลกระทบในทางลบต่อสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจในท้องถิ่น นักข่าวมีบทบาทสำคัญในการสร้างความตระหนักแก่สาธารณชนเกี่ยวกับผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของโครงการพัฒนาเหล่านี้ นอกเหนือจากองค์กรภาคประชาสังคม (CSO) และองค์กรอื่นๆ แล้ว ผู้สื่อข่าวยังมีส่วนช่วยในเรื่องความโปร่งใสและความรับผิดชอบในโครงการของภาครัฐที่ดำเนินการโดยรัฐบาลและการลงทุนของภาคเอกชน เสรีภาพสื่อมวลชนจึงเป็นเสาหลักสำคัญในการบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืนในภูมิภาคนี้

ในเดือนธันวาคม 2561 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาสังคมหรือในชื่อภาษาอังกฤษที่ว่า “Center for Social Development Studies (CSDS)” ได้จัดการประชุมเชิงนโยบาย ซึ่งเป็นเวทีสาธารณะภายใต้ชื่อ “การเมืองทรัพยากรและพื้นที่สาธารณะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: การพิจารณาอย่างรอบคอบ การแสดงความรับผิดชอบและทางเลือก”[xxviii] ซึ่งได้กล่าวถึงความท้าทายของการหดตัวลงของพื้นที่สาธารณะในภูมิภาครวมถึงสื่อมวลชนด้วย งานนี้ได้เน้นย้ำถึงบทบาทของพื้นที่สาธารณะ สื่อมวลชนและโซเชี่ยลมีเดียในการปกป้องชุมชนท้องถิ่นและการดำรงชีวิตของชุมชน ดังนั้น จึงแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการรายงานด้านสิ่งแวดล้อมในฐานะเสาหลักของการพัฒนาที่ยั่งยืน จากการอภิปรายในงานดังกล่าวเห็นได้ชัดว่านักข่าวสามารถช่วยส่งเสริมข่าวสารของการพัฒนาที่ยั่งยืนได้โดยการเขียนเรื่องราวที่น่าสนใจและช่วยให้ความรู้แก่สาธารณชนโดยผ่านกระบวนการนี้

หนึ่งตัวอย่างของบทบาทสื่อมวลชนในการพัฒนาอย่างยั่งยืน คือ การรายข่าวเกี่ยวกับหัวข้อปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมในบริเวณโดยรอบแม่น้ำโขง ซึ่งนักข่าวได้ทำงานร่วมกันเพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับภัยอันตรายที่ส่งผลต่อระบบนิเวศในลุ่มแม่น้ำโขงและผลกระทบที่เกิดจากโครงการพัฒนาต่างๆ อาทิ การก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่มีกระทบต่อการดำรงชีวิตและสุขภาพของประชาชน[xxix] เครือข่ายนักข่าวแม่น้ำโขง (Mekong Matters Journalism Network) ก่อตั้งขึ้นในเดือนกันยายน 2557 ช่วยเชื่อมโยงและฝึกอบรมนักข่าวในลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างและพวกเขาได้ผลิตเรื่องราวมากมายที่ครอบคลุมปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ภัยแล้ง โรงไฟฟ้าถ่านหินและไฟฟ้าพลังน้ำ[xxx]

ความคิดริเริ่มเชิงบวกแบบนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากหากได้มีการนำไปกระทำซ้ำที่อื่นในภูมิภาคแห่งนี้และนี่คือสิ่งที่เครือข่าย สภาการสื่อมวลชนระดับภูมิภาคสามารถแสดงบทบาทอันสำคัญในการจัดหาเวทีสำหรับนักข่าวในภูมิภาคได้แลกเปลี่ยนข้อมูลที่ไม่ใช่เพียงแต่จะเกี่ยวข้องกับข่าวสารและเรื่องราวเท่านั้นแต่ยังเกี่ยวข้องกับแนวทางปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพและความคิดริเริ่มที่จะสามารถช่วยเพิ่มบทบาทในการให้ความรู้แก่สาธารณชนได้มากที่สุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม

การใช้เครือข่ายสื่อมวลชนที่มีอยู่ในปัจจุบัน

ตัวอย่างหนึ่งของเครือข่ายสภาการสื่อมวลชนระดับภูมิภาคที่มีอยู่ คือ พันธมิตรสภาการสื่อมวลชนอิสระในสหภาพยุโรป (Alliance of Independent Press Councils in Europe: AIPCE) ซึ่งเป็นเครือข่ายแบบหลวมๆ ของสภาการสื่อมวลชนในสหภาพยุโรป (European Press Councils) [xxxi] สำหรับทั้งสื่อโดยทั่วไปและสื่อวิทยุกระจายเสียง เครือข่ายได้จัดให้มีการประชุมเป็นประจำทุกปีซึ่งเป็นเวทีสำหรับสื่อมวลชน สภาการสื่อมวลชนและองค์กรระหว่างประเทศอื่นๆเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับจริยธรรมการสื่อสารมวลชนและเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์และข้อมูล เครือข่ายนี้ถูกมองว่าเป็นแพลตฟอร์มที่มีประโยชน์ในการเรียนรู้ระหว่างกันและได้หารือเกี่ยวกับความท้าทายที่พบบ่อยครั้ง รวมทั้งการแบ่งปันคำแนะนำเกี่ยวกับการทำให้สภาผู้สื่อข่าวในแต่ละประเทศเป็นอิสระและมีความยั่งยืนทางการเงิน[xxxii]

ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เครือข่ายสภาการสื่อมวลชนแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Press Councils Network: SEAPC-Net) ก่อตั้งขึ้นในเดือนกันยายน พ.ศ.2562 โดยมีสภาการสื่อมวลชนอินโดนีเซีย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งเมียนมา สภาการหนังสือพิมพ์ติมอร์-เลสเต และสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติของประเทศไทยในฐานะสมาชิกผู้ก่อตั้งโดยผ่านปฏิญญากรุงเทพ[xxxiii] ในคำประกาศดังกล่าวพวกเขาได้เอ่ยถึงความจำเป็นในการร่วมมือระดับภูมิภาคระหว่างสภาการสื่อมวลชนและการยอมรับถึงความท้าทายที่มีความใกล้เคียงกันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในแง่ของเสรีภาพสื่อมวลชน หนึ่งในกิจกรรมที่พวกเขาทำร่วมกันในปี 2563 คือการออกแถลงการณ์ร่วมเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม เกี่ยวกับการป้องกัน COVID-19 โดยเครือข่ายได้เตือนสื่อมวลชนให้ปฏิบัติตามหลักการพื้นฐานในจรรยาบรรณของนักข่าวอยู่เสมอ รวมทั้งการปฏิบัติตามพิธีสารด้านสุขภาพและความปลอดภัยเมื่อรายงานกรณีของผู้ติดเชื้อ COVID-19[xxxiv] เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ปีที่ผ่านมา พวกเขายังจัดประชุมสามัญประจำปีซึ่งกำหนดแผนสำหรับปี 2564 รวมถึงการขยายเครือข่ายและจัดสัมมนาที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมเสรีภาพและจริยธรรมของสื่อมวลชนในภูมิภาค[xxxv]

นอกเหนือจากการประสานความพยายามในการแก้ไขปัญหาด้านสื่อสารมวลชนและจริยธรรมต่างๆในภูมิภาคแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่คาดหวังได้จากการทำงานของเครือข่ายสภาการสื่อมวลชนแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือการทำงานร่วมกันกับผู้สื่อข่าวที่อยู่ในประเทศอื่นๆในภูมิภาคที่ยังคงไม่มีสภาการสื่อมวลชนอย่างเป็นทางการ เครือข่ายสภาการสื่อมวลชนสามารถช่วยประเทศต่างๆเหล่านั้นในการจัดตั้งโดยการสนับสนุนอย่างสำคัญต่อรัฐบาลรวมทั้งแบ่งปันแนวทางปฏิบัติที่ดีที่พวกเขามีอยู่แล้วในประเทศของตน

ในแง่ของการปกป้องนักข่าวโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ทำงานกับหัวข้อเปราะบาง เช่น การลักลอบตัดไม้ทำลายป่า การทำเหมืองแร่และการค้าสัตว์ป่า เครือข่ายสภาการสื่อมวลชนสามารถใช้ความพยายามร่วมกันในการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหานี้โดยเน้นว่าแทนที่จะมองว่านักข่าวสิ่งแวดล้อมเป็นภัยคุกคาม พวกเขาควรถูกมองว่าเป็นพันธมิตรที่มีค่าในการบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาที่ยั่งยืนและยังมั่นใจว่ามีความรับผิดชอบที่ดีขึ้นในการจัดโครงการพัฒนาทั้งโดยรัฐและภาคเอกชน ผู้สื่อข่าวจะสามารถได้รับความคุ้มครองที่ดีขึ้นหากรัฐบาลเหล่านั้นให้ความสำคัญกับภัยคุกคามที่ผู้สื่อข่าวต้องเผชิญและต้องรับมือกับการถูกทำร้ายร่างกายเพียงเพื่อทำหน้าที่ของพวกเขาในฐานะผู้สื่อข่าว นอกจากนี้ยังสามารถช่วยได้หากรัฐบาลไม่พยายามใช้กฎหมายที่รุนแรงเพื่อควบคุมผู้สื่อข่าว ดังนั้นรัฐบาลในภูมิภาคควรดำเนินการอย่างเพียงพอเพื่อให้แน่ใจว่ามีการปกป้องนักข่าวสิ่งแวดล้อมและช่วยพวกเขาในการปฏิบัติหน้าที่โดยการให้พื้นที่ทำงานอย่างปลอดภัย

กิตติกรรมประกาศ

ผู้เขียนขอขอบคุณ นายราเจช เดเนียล และ ผช.ดร.คาร์ล มิดเดิลตัน สำหรับความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์และบทบรรณาธิการของบทความชิ้นนี้

—————

*นักวิจัยภายใต้ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการเมืองทรัพยากรเพื่อการพัฒนาสังคม, ศูนย์ศึกษาเพื่อการพัฒนาสังคม คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

[i] See also: Hostile Climate For Environmental Journalist (RSF, 2015), 2020 World Press Freedom Index: “Entering A Decisive Decade For Journalism, Exacerbated By Coronavirus” (RSF, 2020), A Leaderless Struggle For Democracy (Freedom House, 2020).

[ii] Juliette Garside and Jonathan Watts, 'Environment Reporters Facing Harassment And Murder, Study Finds' (the Guardian, 2019).

[iii] Reporters Without Borders, 'Hostile Climate For Environmental Journalist' (2015).

[iv] Alliance Of Independent Press Councils Of Europe (AIPCE), ‘About' (Presscouncils.eu, 2015).

[v] 'Role Of A Press Council In Promoting Responsible Journalism' (Unesco.org, 2013).

[vi] Southeast Asian Press Councils Network, 'Bangkok Declaration' (2018).

[vii] '2020 World Press Freedom Index: “Entering A Decisive Decade For Journalism, Exacerbated By Coronavirus”' (RSF, 2020).

[viii] 'A Leaderless Struggle For Democracy' (Freedom House, 2020).

[ix]Charter of the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN Charter)’ (asean.org, 2007).

[x] '2020 World Press Freedom Index | Reporters Without Borders' (RSF, 2020).

[xi] 'Countries And Territories' (Freedom House, 2020).

[xii]Defending The Philippines' (Global Witness, 2019).

[xiii] 'The Murder Of Environmental Protection Advocates Must Outrage Us All' (The Manila Times, 2017).

[xiv] The Aktionsbündnis Menschenrechte – Philippinen, 'Human Rights In The Philippines Under Duterte' (2019).

[xv] 'Cambodian Journalist Found Dead In His Own Car' (Committee to Protect Journalists, 2012).

[xvi]  ‘A Bad Year For Journalism' (The Cambodia Daily, 2018).

[xvii] Kyaw Ko Ko, 'Mandalay Journalist Threatened After Reporting On Illegal Logging' (The Myanmar Times, 2016).

[xviii] Maung Zaw, 'Police Suspect Murder After Eleven Media Reporter Found Dead' (The Myanmar Times, 2016).

[xix] Kyaw Ko Ko, 'Mandalay Journalist Threatened After Reporting On Illegal Logging' (The Myanmar Times, 2016).

[xx] 'Indonesian Journalists Critical Of Illegal Palm Plantation Found Dead' (EcoWatch, 2019).

[xxi] Basten Gokkon, 'Palm Owner Charged With Ordering Murder Of Two Journalists In Indonesia' (Mongabay Environmental News, 2019).

[xxii] 'Cambodian Activist Killed While Helping Journalists' (Committee to Protect Journalists, 2012).

[xxiii] 'Thailand: Dismiss Criminal-Defamation Charges Against Thai PBS And Journalists - Fortify Rights' (Fortify Rights, 2018).

[xxiv] 'Tung Kham Company Sued Youth Journalist And Thai PBS' (Freedom.ilaw.or.th).

[xxv] 'Thailand: Uphold Decision To Dismiss Criminal-Defamation Complaint Against Thai PBS And Journalists - Fortify Rights' (Fortify Rights, 2018).

[xxvi] Richard C. Paddock, 'American Journalist Is Arrested In Indonesia Over Visa Issue' (Nytimes.com, 2020).

[xxvii] Amy Gunia, 'Indonesia Arrests American Journalist Over Alleged Visa Issue' (Time, 2020).

[xxviii] CSDS Communications, 'EVENT [REPORT]: Policy Forum On Resource Politics And The Public Sphere In Southeast Asia: Deliberation, Accountability And Alternatives [Bangkok, 13 December 2018] — Center For Social Development Studies' (CSDS, 2018).

[xxix] 'Mekong Matters Journalism Network' (Earth Journalism Network).

[xxx]Environmental Journalists Net Stories In The Mekong | Internews' (Internews.org, 2017).

[xxxi] Alliance Of Independent Press Councils Of Europe' (Ethical Journalism Network).

[xxxii] 'European Press Councils Reaffirm Central Role Of Self-Regulation In Maintaining The Quality Of Journalism' (UNESCO, 2017).

[xxxiii] Southeast Asian Press Councils Network, 'Bangkok Declaration' (2018).

[xxxiv] 'Joint Statement : SEAPC-Net Solidarity In Combating The Pandemic Coronavirus (COVID-19)' (Presscouncil.or.th, 2020).

[xxxv]ปธ. สภาการสื่อมวลชนฯ ประชุมสามัญประจำปี SEAPC-Net’ (Presscouncil.or.th, 2020).

 

CRITICAL NATURE: Protecting journalists to protect the environment: Can a Southeast Asian Press Councils Network help?

by Anisa Widyasari*

[Thai version available here]

Deforestation in Borneo. Picture by IndoMet in the Heart of Borneo, ">CC BY 2.0, via Wikimedia Commons

Deforestation in Borneo. Picture by IndoMet in the Heart of Borneo, CC BY 2.0, via Wikimedia Commons

In Southeast Asia, journalism work can be dangerous with environmental reporters among those who consistently face threats, physical harm and even get killed for doing their work. This is of extreme concern as environmental journalists are at the forefront of our quest to protect the environment, as they play a pivotal role in educating the public about environmental issues.

Southeast Asia is consistently ranked[i] amongst those with the most hostile climate for journalists and environment reporters with many targeted with threats and, in some cases, even murdered. The Guardian stated that environmental reporting is the one of the most dangerous fields of journalism after war reporting[ii]. Based on the report released by Reporters Sans Frontières (RSF) in 2016, ninety percent of the killings of environmental journalist have been in Asia, with Southeast Asia being the deadliest[iii].

One of the most important agencies for the protection of journalists and press freedom are national Press Councils. These are self-regulatory bodies set up by the media themselves in order to maintain public confidence – they set professional standards for journalists and set rules so that people featured in news media can complain if there is inaccuracy.[iv] Therefore, Press Councils play an important role in ensuring media accountability. A Press Council stands for good, responsible and reliable journalism as it promotes an ethical code for journalists and investigates complaints about a breach of this code[v]. By abiding to the rules of a Press Council, journalists and media professionals declare their dedication to the values of objectivity, plurality and democracy.

In Southeast Asia, Press Councils are present in only five of the eleven countries: Indonesia, the Philippines, Thailand, Myanmar, and Timor-Leste. In 2019, four of them established the Southeast Asian Press Councils Network (SEAPC-Net), citing the need for regional cooperation[vi]. The idea of this regional cooperation was seen as beneficial in the effort to improve press freedom in the region. Regional cooperation can address common regional press challenges and opportunities in Southeast Asia as well as provide a platform for journalists to exchange information.

This article looks at the current state of environmental journalism in Southeast Asia and explores whether a Regional Press Councils Network would be able to both help protect environmental journalists and further goals on sustainable development across Southeast Asia.

The Status of Press Freedom in Southeast Asia

Southeast Asia faces a critical situation in regard to fundamental freedoms, which include press freedom (as cited by several press freedom reports and freedom of expression index including Reporters Sans Frontières (RSF)[vii] and Freedom House[viii]). Despite having an ASEAN Charter and ASEAN Human Rights Declaration which stipulates that ASEAN and its Member States shall respect every person’s “right to freedom of opinion an expression, including freedom to hold opinions without interference and to seek, receive and impart information[ix], current trends show that the space for public to express their opinion is shrinking throughout the region.

Copy of CN-Info-2102.png
 

Figure 1. Southeast Asian Countries performance in Press Freedom Index by RSF[x] and Global Freedom Index by Freedom House[xi], 2020

 

According to the 2020 World Press Freedom Index from RSF, Timor-Leste, is the only country in the region with a rank among the top 100. The rest, with the exception of Malaysia and Indonesia, are within the bottom third of the list with Vietnam being the worst performing country in terms of press freedom in the region. Meanwhile, the 2020 report from Freedom House showed that, except for Timor-Leste, none of the countries in the region can be categorized as ‘free’ with regards to freedom of expression; The Philippines, Indonesia, Malaysia, Singapore, and Thailand were ‘partly free’ while the others were ‘not free’. This data provides a good insight on the serious situation faced by journalists working in Southeast Asia.

The data also shows the poor record of the government in the region in upholding press freedom, even though rights to freedom of press is acknowledged in various international human rights instruments. Article 19 of the Universal Declaration on Human Rights explicitly states that: “Everyone has the right to freedom of opinion and expression; this right includes freedom to hold opinions without interference and to seek, receive and impart information and ideas through any media and regardless of frontier”.

The countries in the region, except Brunei, Malaysia, Myanmar and Singapore, are also a signatory party to the International Covenant on Civil and Political Rights (ICCPR). ICCPR also guarantees the freedom of the press in its Article 19, which explains that “everyone shall have the right to freedom of expression; this right shall include freedom to seek, receive and impart information and ideas of all kinds, regardless of frontiers, either orally, in writing or in print, in the form of art, or through any other media of his choice”.

Today, in Southeast Asia, only five countries have existing Press Councils: Indonesia, the Philippines, Thailand, Myanmar, and Timor-Leste. The presence of these self-regulatory bodies in a minority of countries in the region is indicative of the predominance of state regulation around the region, instead of media self-regulation, in dealing with media ethics and freedom issues. The predominance of state-owned or controlled media has prevented the emergence of independent bodies to examine media ethical practices as well as promote freedom of the press.

Harassment of Environmental Journalists

Harassment of environmental journalists most often by state actors is common in the region. Some of these incidents have even resulted in the deaths of reporters. The high risks faced by environment journalists is on a par with the serious threats faced by environmental activists: for instance, 164 environmental activists were killed in 2018 globally with the Philippines found to be the deadliest country for environmental defenders in that year, with 30 environmentalists murdered[xii].

One of the most infamous cases of the killing of an environment journalist in the Philippines happened in January 2017: Mario Contaoi, an educator and former environmental protection broadcaster, was shot dead by an unknown assailant. Contaoi was frequently outspoken against the heavy military presence in places where environmentally destructive projects are located[xiii]. Even until now, the authorities have yet to determine the assailant and the motive for the murder[xiv].

In Cambodia, Hang Serei Odom, a reporter for the Khmer-language Virakchun Khmer Daily, was found dead in the trunk of his car at a cashew plantation in O'Chum district of northeastern Ratanakiri province in September 2012. Hang Serei Odom frequently reported on illegal logging activities in the province[xv]. A local military police captain and his wife were initially charged with the murder, but charges were later dropped[xvi].

Myanmar is also a dangerous place to report on the environment. Soe Moe Tun, a local journalist for Daily Eleven newspaper was beaten to death on December 2016. The perpetrator and motive behind his murder was not found, but at the time of his death, he was investigating a story of illegal logging and wood smuggling in Sagaing Region[xvii]. Just a few months before, in October, another journalist, Ko Tin Zaw Oo, who had been writing about the illegal sawmills in Thabeikkyin Township was receiving threats and intimidation and had to go into hiding[xviii].

In Indonesia, Maraden Sianipar and Martua Siregar, two journalists who had reported on an illegal oil palm plantation in North Sumatra were found dead in a ditch near the plantation on October 30 2019, just a few weeks after the death of Golfrid Siregar, a well-known environmental activist also from North Sumatra[xix]. Five people, including the alleged owner of an oil palm plantation in Sumatra where two journalists were found dead, have been charged with their murder[xx].

Environmental reporting is not only risky for the journalists but it’s also dangerous for the local communities since most of the environmental reporting will cover cases which feature the affected communities. One of the most chilling examples is the death of Chut Wutty, the president of the Phnom Penh-based Natural Resource Conservation Group, who was killed by the police while taking to two journalists near an allegedly illegal logging site in April 2012[xxi].

The dangers of environmental reporting also include legal risks. Legal harassment is one of the most common forms of harassment of environmental journalists, the region’s governments are adept at passing and using repressive laws to silence voices of dissent. More recently, the growth of online media platforms has resulted in a mushrooming of laws aimed at curbing web-based journalism and silencing online reporting.

For example, on November 12, 2015 in Thailand, Tungkum Ltd., a Thai mining firm filed an initial complaint against several journalists from Thai PBS, the local public television channel, about a citizen-journalist news clip showing a youth camp involved in raising awareness of environmental issues in Wang Sa Phung District, Loei Province[xxii]. The firm filed the complaint referring to Section 326 of Thailand’s criminal code on public defamation[xxiii]. According to Fortify Rights, during 2010-2018, Tungkum Ltd. has brought at least 19 other criminal and civil lawsuits against 33 Loei residents, including members of the Khon Rak Ban Kerd Group (KRBKG), a community-based environmental organization actively engaged in protesting local gold mining operations[xxiv].

This legal harassment does not just target local journalists but foreign journalist as well. In a case from Indonesia last year, Philip Jacobson, an editor for the non-profit U.S.-based conservation and environmental science platform Mongabay was detained on December 17, 2019 then later arrested on January 21, 2020 by Indonesia’s immigration authorities alleging that he violated the conditions of his visa[xxv].  Jacobson has previously written articles for Mongabay about the environmental destruction caused by one of Indonesia’s largest paper producers in Borneo, and often criticized Indonesian president Joko Widodo on his track record on environmental issues[xxvi].

Would a Press Council have worked to support or defend the journalists in these above cases? The answer is not yet totally clear since in those countries with a Press Council, their role in these cases of harassment has varied from country to country.  In general, the power of the Press Council is related to media ethics and their own code of conduct, so they are unable to interfere with legal proceeding when court cases are brought against reporters. The role of the Press Council seems mainly to raise awareness about the cases and pressure their government to uphold principles of press freedom, a role which could be amplified cross the region by an active network of Regional Press Councils. A Press Councils Network could also help to consolidate regional advocacy strategies in pressuring individual governments to ensure press freedom in their respective countries.

Environmental Journalism for Enhanced Transparency and Accountability

In Southeast Asia as elsewhere, a number of so-called development projects can result in adverse impacts on the environment and local economies. Journalists play an important role in raising public awareness about the socio-environmental impact of these projects. Along with Civil Society Organisations (CSO) and others, reporters help with transparency and accountability in public sector projects undertaken by the government and also private sector investments. Press freedom is therefore an essential pillar for achieving sustainable development in the region.

In December 2018, Center for Social Development Studies (CSDS) organized a Policy Forum on Resource Politics and the Public Sphere in Southeast Asia: Deliberation, Accountability and Alternatives, which addressed the challenge of the shrinking public sphere in the region, including the media. The event highlighted the role of public spaces, mass media, and social media in protecting the local commons and community livelihoods, and therefore showing the importance of environmental reporting as the pillar of sustainable development[xxvii]. From the discussion on the event, it is apparent that journalists can help further the message of sustainable development by writing compelling stories and help educating the public in the process.

One example of the role of journalism in sustainable development is the environmental reporting on topics around the Mekong River, where journalists are working together to raise awareness about the dangers to the Mekong River Basin ecosystems and the impacts of development projects like hydropower infrastructure on livelihoods and health[xxviii]. Formed in September 2014, the Mekong Matters Journalism Network helped to connect and train journalists in the Lower Mekong and they have produced numerous stories covering environmental issues such as drought, coal plants and hydropower[xxix].

This kind of positive initiative would be useful if replicated in other places in the region, and this is where a Regional Press Councils Network could play a valuable role in providing a platform for journalists in the region to exchange information, not only about news and stories but also about best practices and initiatives that could help maximize their role in educating the public especially in regard to environmental issues.

Utilizing the Existing Media Networks

One example of an existing Regional Press Councils Network is the Alliance of Independent Press Councils in Europe (AIPCE), which is a loose-knit network of European Press Councils for both press and broadcast media[xxx]. The network regularly organized annual conferences where it provides a forum for media, Press Councils and other international organizations to discuss topics on journalistic ethics and to exchange ideas, experiences and information. The network has been seen as a useful platform to learn from each other and discuss the common challenges and sharing advice on how to keep the Press Council in each country independent and financially sustainable[xxxi].

In Southeast Asia, Southeast Asian Press Councils Network (SEAPC-Net) was established in September 2019 with the Indonesia Press Council, Myanmar Press Council, Timor-Leste Press Council and the National Press Council of Thailand as the founding members through the Bangkok Declaration[xxxii]. In the declaration, they mentioned the need for regional co-operation between the Press Councils and recognized the similarities of the challenges in Southeast Asia in terms of press freedom.  One of the activities they did together in 2020 was issuing a joint statement on May 6 about combating COVID-19, where the network reminded the press to always comply with the basic principles in the journalists’ code of ethics as well as to adhere to the health and safety protocols when reporting on COVID-19 cases[xxxiii]. On December 11 last year, they also held their annual general meeting where they set plans for 2021, which includes expanding the network and organizing seminars related to promoting freedom and ethics of the press in the region[xxxiv].

Apart from coordinating their efforts in tackling various journalism and ethics issues in the region, another thing that could be expected from the work of a Southeast Asia Press Councils Network is for them to be working together with existing journalists in other countries in the region who still do not have an official Press Council. The Press Councils Network could help those countries to establish one by advocating its importance to the governments, as well as sharing the best practices they already have in their own countries.

In terms of protection of journalists especially those who are covering on sensitive topics like illegal logging, mining and wildlife trade, the Press Councils Network could make a joint effort in raising awareness of this issue, highlighting how instead of looking at environment journalists as a threat, they should be seen as valuable allies in achieving goals on sustainable development, and also ensure that there is better accountability in managing development projects both by state and the private sector. The journalists can be better afforded protection if governments are serious about the threats faced by reporters who need to deal with actual physical harm just for doing their duty as reporters. It also can help if governments do not always try to use harsh laws to clamp down on press reporters. Regional governments therefore should take adequate steps to ensure the protection of the environment journalists and help them to conduct their duties by providing a safe working space.

Acknowledgment

The author would like to thank Rajesh Daniel and Carl Middleton for their helpful comments and editorial review of this article.

———-

* Researcher, Center of Excellence in Resource Politics for Social Development, Center for Social Development Studies, Faculty of Political Science, Chulalongkorn University

[i] See also: Hostile Climate For Environmental Journalist (RSF, 2015), 2020 World Press Freedom Index: “Entering A Decisive Decade For Journalism, Exacerbated By Coronavirus” (RSF, 2020), A Leaderless Struggle For Democracy (Freedom House, 2020).

[ii] Juliette Garside and Jonathan Watts, 'Environment Reporters Facing Harassment And Murder, Study Finds' (the Guardian, 2019).

[iii] Reporters Without Borders, 'Hostile Climate For Environmental Journalist' (2015).

[iv] Alliance Of Independent Press Councils Of Europe (AIPCE), ‘About' (Presscouncils.eu, 2015).

[v] 'Role Of A Press Council In Promoting Responsible Journalism' (Unesco.org, 2013).

[vi] Southeast Asian Press Councils Network, 'Bangkok Declaration' (2018).

[vii] '2020 World Press Freedom Index: “Entering A Decisive Decade For Journalism, Exacerbated By Coronavirus”' (RSF, 2020).

[viii] 'A Leaderless Struggle For Democracy' (Freedom House, 2020).

[ix]Charter of the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN Charter)’ (asean.org, 2007).

[x] '2020 World Press Freedom Index | Reporters Without Borders' (RSF, 2020).

[xi] 'Countries And Territories' (Freedom House, 2020).

[xii]Defending The Philippines' (Global Witness, 2019).

[xiii] 'The Murder Of Environmental Protection Advocates Must Outrage Us All' (The Manila Times, 2017).

[xiv] The Aktionsbündnis Menschenrechte – Philippinen, 'Human Rights In The Philippines Under Duterte' (2019).

[xv]   'Cambodian Journalist Found Dead In His Own Car' (Committee to Protect Journalists, 2012).

[xvi]   ‘A Bad Year For Journalism' (The Cambodia Daily, 2018).

[xvii] Maung Zaw, 'Police Suspect Murder After Eleven Media Reporter Found Dead' (The Myanmar Times, 2016).

[xviii] Kyaw Ko Ko, 'Mandalay Journalist Threatened After Reporting On Illegal Logging' (The Myanmar Times, 2016).

[xix] 'Indonesian Journalists Critical Of Illegal Palm Plantation Found Dead' (EcoWatch, 2019).

[xx] Basten Gokkon, 'Palm Owner Charged With Ordering Murder Of Two Journalists In Indonesia' (Mongabay Environmental News, 2019).

[xxi]  'Cambodian Activist Killed While Helping Journalists' (Committee to Protect Journalists, 2012).

[xxii] 'Thailand: Dismiss Criminal-Defamation Charges Against Thai PBS And Journalists - Fortify Rights' (Fortify Rights, 2018).

[xxiii] 'Tung Kham Company Sued Youth Journalist And Thai PBS' (Freedom.ilaw.or.th).

[xxiv] 'Thailand: Uphold Decision To Dismiss Criminal-Defamation Complaint Against Thai PBS And Journalists - Fortify Rights' (Fortify Rights, 2018).

[xxv] Richard C. Paddock, 'American Journalist Is Arrested In Indonesia Over Visa Issue' (Nytimes.com, 2020).

[xxvi]   Amy Gunia, 'Indonesia Arrests American Journalist Over Alleged Visa Issue' (Time, 2020).

[xxvii]   CSDS Communications, 'EVENT [REPORT]: Policy Forum On Resource Politics And The Public Sphere In Southeast Asia: Deliberation, Accountability And Alternatives [Bangkok, 13 December 2018] — Center For Social Development Studies' (CSDS, 2018).

[xxviii] 'Mekong Matters Journalism Network' (Earth Journalism Network).

[xxix]Environmental Journalists Net Stories In The Mekong | Internews' (Internews.org, 2017).

[xxx] 'Alliance Of Independent Press Councils Of Europe' (Ethical Journalism Network).

[xxxi] 'European Press Councils Reaffirm Central Role Of Self-Regulation In Maintaining The Quality Of Journalism' (UNESCO, 2017).

[xxxii] Southeast Asian Press Councils Network, 'Bangkok Declaration' (2018).

[xxxiii] 'Joint Statement : SEAPC-Net Solidarity In Combating The Pandemic Coronavirus (COVID-19)' (Presscouncil.or.th, 2020).

[xxxiv]ปธ. สภาการสื่อมวลชนฯ ประชุมสามัญประจำปี SEAPC-Net’ (Presscouncil.or.th, 2020).

JOURNAL ARTICLE: ASEAN in the South China Sea conflict, 2012–2018: A lesson in conflict transformation from normative power Europe

Publication date: 4 July 2020

Publication: International Economics and Economic Policy

Author: Kasira Cheeppensook

Abstract:

For decades, overlapping territorial claims to the South China Sea have had a destabilizing effect in East and Southeast Asia, with broader implications beyond the region. Four ASEAN countries (Brunei, Malaysia, the Philippines, and Vietnam) are direct claimants in the South China Sea conflict. ASEAN’s role, as a regional organization, in facilitating peaceful resolution of these claims and maintaining stability is challenging because the conflict presents potentially divisive rifts among ASEAN members themselves. This paper explores ASEAN’s role in managing the South China Sea conflict by examining the actions of two non-claimant states that functioned as country coordinators for ASEAN–China relations from 2012 to 2018: Thailand and Singapore. The efforts of these two countries as honest brokers shed light on how ASEAN can deal with this ongoing crisis so as to ensure the organization’s ongoing effectiveness and sustain regional harmony. The concept of normative power is employed to explain the potential role of non-claimant states in conflict transformation.

Keywords: ASEAN, South China Sea, Normative power Europe

See the article here.